วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557


ส้ม




1. ส้มเป็นผลไม้นางเอก มีสารไฟโตนิวเทรียนต์มาก ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสารกลุ่มฟลาวาโนนส์ สารแอนโธไชยานินส์ สารโพลีฟีนอลส์ และวิตามินซี ที่ช่วยทำให้ผิวสวยกระจ่างใส .. ส้ม มีคอลลาเจน ช่วยซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น ไม่แห้งแตก และช่วยสมานแผลหลังผ่าตัด แผลไฟไหม้ ให้หายเร็ว และแผลเรียบเนียนขึ้น 

2. ส้ม ให้แคลเซียมและวิตามินดี แก่ร่างกาย มากพอๆ กับนม และแคลเซียมจะไปเสริมสร้างกระดูก แต่ถ้าไม่มีวิตามินดี ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ นอกจากนี้ส้มยังมีวิตามินซี ซึ่งจะช่วยเพิ่มกระบวนการดังกล่าวอีกด้วย แต่พึงเข้าใจด้วยว่า กรดอะซีติกในส้ม อาจทำลายสารเคลือบฟันได้ จึงไม่ควรแปรงฟันภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากทานส้มหรือดื่มน้ำส้ม

3. ส้ม มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน ยิ่งไปกว่านั้นส้มยังช่วยป้องกันและรักษาเลือดออกตามไรฟัน และมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษในร่างกาย 

4. เปลือกของส้ม มีสารมหัศจรรย์อยู่มากมาย และหนึ่งในนั้นคือการ Polymethoxylated Flavones (PMFs) และสาร D-Limonene ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอล ปรับระดับน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นการกรองสารพิษของตับ นอกจากนี้จากการศึกษายังชี้ว่า เม็ดสีในส้มเขียวหวานจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) โดยไม่ส่งผลต่อคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)

5. ตำรับจีนมักเสิร์ฟเปลือกส้ม คู่กับอาหารเนื้อสัตว์ เพื่อย่อยอาหารที่มีไขมันสูง บางตำราแนะนำให้เริ่มวันใหม่ด้วยน้ำเลมอน 12 ออนซ์ ผสมกับน้ำกรองแล้วที่อุณหภูมิห้อง จะช่วยชะล้างของเสียในระบบย่อยอาหารและลำไส้ได้ เพราะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ 

6. ส้ม อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยปกป้องแก้วตาจากโรคต้อกระจก และจากการศึกษายังพบว่า การบริโภควิตามินอีและซีในปริมาณมาก จะช่วยป้องกันโรคต้อกระจกได้ แม้แต่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูง

7. ส้ม จะทานก็ได้ จะดมผิวก็ได้ เพราะส้มมีสารโฟเลตซึ่งช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนซีโรโทนิน อันเป็นสารแห่งความสุข กลิ่นของผลไม้ตระกูลส้มสามารถทำให้เบิกบานได้
มะขาม 





เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีน้ำตาล
 แก้วมังกร




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hylocereus spp.
พันธุ์เนื้อสีขาว
ลักษณะรูปร่าง: เป็นผลไม้ที่มีรูปร่างรีคล้ายรูปทรงของไข่ และมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอยู่ทั่วทั้งผล
สี: เปลือกสีชมพู เนื้อนิ่มสีขาวและฉ่ำน้ำ มีเมล็ดสีดำเล็กๆอยู่ในเนื้อ
รสชาติ: หวาน
พันธุ์เนื้อสีชมพู
ลักษณะรูปร่าง: เป็นผลไม้ที่มีรูปร่างรีคล้ายรูปทรงของไข่ และมีกลีบเลี้ยงสีเขียวอยู่ทั่วทั้งผล
สี: เปลือกสีชมพู
เนื้อ: นิ่มสีชมพูและฉ่ำน้ำ มีเมล็ดสีดำเล็กๆอยู่ในเนื้อ
รสชาติ: หวาน
วิธีการบริโภค : วิธีการเตรียมก่อนการรับประทาน
แบ่งผลออกเป็นสองส่วน ผ่าครึ่งตามทางยาว
ตัดแบ่งแต่ละครึ่งออกเป็นสองชิ้น
สไลด์ตามทางยาวออกเป็น 4 ชิ้น รับประมานแต่เนื้อข้างใน ไม่ทานเปลือก
การรับประทาน
- รับประทานสดโดยไม่ต้องปรุง
- สามารถนำมาทำเป็นส่วนประกอบของสลัดผลไม้
- นำมาทำเป็นน้ำผลไม้
การเก็บรักษา : เก็บได้ประมาณ 14 วัน ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้น 90 %
ฤดูกาล:
ให้ผลผลิต ตลอดปี
ช่วงเวลาที่ผลผลิตของแก้วมังกรมีมากที่สุด คือ เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม
โภชนาการ :

อุดมไปด้วยวิตามินซีและไฟเบอร์ แก้วมังกรเนื้อสีแดงมีสารไลโคปีนที่สามารถต่อต้านมะเร็ง โรคหัวใจ และความดันโลหิตต่ำ

พืชสมุนไพร

พืชสมุนไพร 






ป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ  และถูกทอดทิ้งไปในที่สุด
          ความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืมจนต่อไม่ติด
         ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535 ว่า  " ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม"
          บทความข้าต้นเป็นส่วนหนึ่งในคำนำของหนังสือ "สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด" ซึ่งเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา เภสัชกรด้านเภสัชสาธารณสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการ กองเภสัชกรรม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้รวบรวมและเรียบเรียง ได้บันทึกไว้ ซึ่งต่อมาทางสำนักอนามัยฯ ได้นำหนังสือดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อใช้ประโยชน์ในงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  การนี้ ทางโครงการฯ เห็นว่าเนื้อหาในหนังสือมีคุณค่าและให้ประโยชน์กับผู้ที่ร่วมงานกับโครงการฯ รวมถึงบุคคลทั่วไป จึงได้นำขึ้นเผยแพร่ในเวบไซต์โครงการฯ
          จึงหวังว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลและได้อ่านเรื่องต่างๆ ในเวบไซต์นี้คงได้รับความรู้และอาจนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองหรือบุคคลรอบข้างได้ไม่มากก็น้อย..




มะเขือเทศ หรือ Tomato ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์มะเขือเทศคือ Lycopersicon Esculentum Mill มะเขือเทศคือผักหรือผลไม้ ? คำตอบก็คือ มะเขือเทศคือผลไม้ครับตามคำนิยามของหลักทางพฤกษศาสตร์ เพราะผลไม้คือส่วนของรังไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ของพืชดอก ส่วน ผัก คือพืชที่กินได้ของพื่ชล้มลุก ไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ ก้าน หัว หน่อ ดอก ซึ่งโดยปกติแล้วคนส่วนมากมักเข้าใจผิดว่ามะเขือเทศคือผักเพราะนำไปใช้ประกอบอาหารกันเป็นส่วนใหญ่ และมักคิดว่าผลไม้คือสิ่งที่ให้ความหวานนั่นเอง โดยมะเขือเทศที่นิยมรับประทานมากคือ มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี และคุณรู้หรือไม้มะเขือเทศนั้นจัดว่าเป็นผลไม้ที่คนทั่วโลกนิยมรับประทานกันมากที่สุด โดยนิยมรับประทานกันมากกว่าผลไม้ยอดนิยมอันดับ 2 อย่าง กล้วย มากถึง 16 ล้านตันต่อปี ส่วนผลไม้อันดับ 3 คือ แอปเปิ้ล และ ส้ม ตามลำดับ
มะเขือเทศ นอกจากจะเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันมากที่สุดในโลกแล้ว ประโยชน์ของมะเขือเทศยังมีอยู่มากมาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น วิตามินซี วิตามิเอ วิตามินเค วิตามินพี วิตามินบี1 วิตามินบี2 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก โดยมะเขือเทศขนาดปานกลางนั้นจะมีปริมาณของวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งลูก และมะเขือเทศหนึ่งผลมีปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายต้องการจำนวน 1 ใน 3 ของวิตามินเอทีร่างกายต้องการต่อวันเลยทีเดียว!! และยังมีสารจำพวก ไลโคพีน (Lycopene) แคโรทีนอยด์ เบต้าแคโรทีน และ กรดอะมิโน เป็นต้น และมะเขือเทศยังจัดว่าเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย เช่น ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ขับปัสสาวะ รักษาความดัน เป็นต้น

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

 


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต  ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป ผุ้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้ ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
        1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
        2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
        3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
        4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
        5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
        6. ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

            Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
            
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ